ประวัติความเป็นมา

ประวัติและผลงานพระคันธสาราภิวงศ์

นามเดิม​     พระมหาสมลักษณ์ สาราภิวงศ์ (คนฺธสาโร)
อายุ           ๕๖ ปี พรรษา ๓๕
วิทยฐานะ   น.ธ.เอก, ป.ธ.9, เจติยังคณะ คณวาจกธรรมาจริยะ, สาสนธชธรรมาจริยะ และ ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

บรรพชา

        วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑6 เมื่ออายุ ๑๒ ปี ณ จิตตภาวันวิทยาลัย พัทยา โดยมี สมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท

        วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ เมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง โดยมี พระธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ เป็นพระอุปัชฌาย

วิทยฐานะ

พ.ศ. ๒๕๒๒  = สอบได้ชั้นโสตุชนปันติ (ชั้นนักศึกษา) วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง
พ.ศ. ๒๕๒๗ = เดินทางไปศึกษา ณ ประเทศเมียนม่าร์ โดยพำนักอยู่ที่วัดวิสุทธาราม จังหวัดแปร (Prome) ๗ ปี และ วัดวิสุทธาราม จังหวัดมันดเลย์ ๓ ปี
พ.ศ. ๒๕๒๙ = สอบได้ชั้นพื้นฐานของรัฐบาลพม่า (เกียรตินิยมของภาค)
พ.ศ. ๒๕๓๐ = สอบได้ชั้นนักศึกษาของสมาคมพุทธสาสนานุเคราะห์ จ.แปร (เกียรตินิยมของจังหวัด)
พ.ศ. ๒๕๓๑ = สอบได้ชั้นนักศึกษาของสมาคมเอกชนเจติยังคณะ ประเทศเมียนม่าร์ (เกียรตินิยม อันดับ ๓ ของประเทศ)
พ.ศ. ๒๕๓๔ = สอบได้ ธรรมาจริยะ ของสมาคมเอกชนเจติยังคณะ ประเทศเมียนม่าร์ ได้รับวิสุทธิมรรค เกียรติบัตรเป็น เจติยังคณะ คณวาจกธรรมาจริยะ (เกียรตินิยมอันดับ ๒ ของ ประเทศ)
พ.ศ. ๒๕๓๕ = สอบได้ ธรรมาจริยะ ของรัฐบาลพม่า ได้รับเกียรติบัตรเป็นสาสนธชธรรมาจริยะ
พ.ศ. ๒๕๕๖ = จบปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๕๖ = สอบได้ ป.ธ.๙ สำนักเรียนวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง

เกียรติคุณ

  • เข็มเชิดชูเกียรติวิปัสสนาจารย์ ถวายเนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ ๕0 ปี สถาปนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓

  • เกียรติบัตรในฐานะผู้มีผลงานดีเด่น สาขาพระพุทธศาสนา มูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

  • เสาเสมาธรรมจักร ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือพระพุทธศาสนา วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

  • ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๐

  • เสาธรรมอโศก จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

    วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

 

ผลงานฝ่ายพระอภิธรรม

๑.อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี(แปล)
๒. สัจจสังเขป(แปลและอธิบาย)
๓.อภิธัมมาวตาร(แปลและอธิบาย)
๔. อัฏฐสาลินี(แปลและอธิบาย)
๕. พระอภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์ และประวัติคัมภีร์สัททาวิเสส
๖. คาถาสาธยายในงานฉลองวันพระอภิธรรม (แปล)

ผลงานฝ่ายพระสูตร

๑.เนตติปกรณ์(แปลและอธิบาย)
๒. เนตติอรรถกถา(แปลและอธิบาย)
๓. เนตติฎีกา (แปลและอธิบาย)
๔. พระสุตตันตปิฎกแปล-อธิบาย มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑
๕. วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ (แปลและอธิบาย)
๖. วสิ ทุ ธมิ รรค เลม่ ๒ (แปลและอธิบาย)
๗. วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ (แปลและอธิบาย)

ผลงานฝ่ายพระวินัย

๑. สารัตถทีปนี มหาวรรค (แปลและอธิบาย)
๒. ศีล ๒๒๗ ข้อ
๓. สารัตถทีปนี จูฬวรรคและปริวารวรรค (แปลและอธิบาย)
๔. กังขาวิตรณี เล่ม ๑ (แปลและอธิบาย)
๕. กังขาวิตรณี เล่ม ๒ (แปลและอธิบาย)

ผลงานฝ่ายวิปัสสนา

๑. สติปัฏฐาน ทางสายเดียว (แปลจาก SATIPATTHANA - THE ONLY WAY)
๒. ศึกษาวิธีเจริญสติด้วยภาษาง่ายๆ
๓. การเจิรญสติปัฎฐาน
๔. โพธิปักขิยธรรม
๕. ทางสู่นิพพาน
๖. ส่องสภาวธรรม
๗. อานาปานทีปนี (แปล)
๘. วิปัสสนานัยเล่ม ๑ (แปล)
๙. วิปัสสนานัยเล่ม ๒ (แปล)
๑๐. มหาสติปัฏฐานสูตร (แปล)
๑๑. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร (แปล)
๑๒. ปฏิจจสมุปบาท (แปล)
๑๓. นิพพานกถา (แปล)
๑๔. พรหมวิหาร (แปล)
๑๕. อนัตตตลักขณสูตร (แปล)
๑๖. วัมมิกสูตร(แปล)
๑๗. เหมวตสูตร (แปล)

ผลงานฝ่ายหลักภาษา

๑. สังวัณณนานิยาม และสาธนะในกิตก์
๒. พาลาวตาร (ปริวรรต)
๓.ปทสังคหะ(ปริวรรต)
๔. กัจจายนสารมัญชรี
๕.คันถาภรณมัญชรี
๖. วฤตตรัตนากร(แปล)
๗.ถามตอบคัณฐิบทในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ
๘. วุตโตทยมัญชรี
๙. สังวัณณนามัญชรี และสังวัณณนานิยาม
๑๐. สุโพธาลังการมัญชรี
๑๑. คัมภีร์ฉันท์ ๔ ฉบับ (ปริวรรต)
๑๒. ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๑
๑๓. ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๒
๑๔. ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๓
๑๕. พาลาวตารมัญชรี เล่ม ๑
๑๖. สุโพธาลังการฎีกา (ปริวรรต)

ผลงานปกิณกธรรม

๑. เตลกฏาหคาถา(แปลและอธิบาย)
๒. พระปริตรธรรม(แปล)
๓. นมักการะและมหาปณามะ(แปล)
๔. เมตตาภาวนา
๕. ทารุกขันโธปมสูตร (แปลจาก PARABLE OF THE LOG)
๖. คุณธรรมของคนดี
๗. พรหมวิหาร ๔
๘. เมตตา
๙. ปัชชมธุ(แปลและอธิบาย)
๑๐. ชินาลังการ(แปลและอธิบาย)
๑๑. คำอธิบายเมตตปริตร
๑๒. ปรองดองประคองมิตร
๑๓. อุปปาตสันติ(แปลและอธิบาย)
๑๔. ประกายส่องใจ ๑
๑๕. ประกายส่องใจ ๓
๑๖. ประกายส่องใจ ๓