ไตรสิกขา
สิกขา คือ ความประพฤติเป็นการเรียนรู้ชนิดหนึ่งที่ศึกษาจากประสบการณ์ของ
ตนเอง ไม่ใช่การฟังจากผู้อื่น ส่วนการเรียนรู้จากบุคคลอื่นเรียกว่า ปริยัติไม่ใช่สิกขา
พระพุทธองค์สอนให้เราประพฤติสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา ได้แก่
๑. ศีล ความสํารวมกายและวาจาให้เรียบร้อยสงบเสงี่ยม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ถ้าเป็นนักบวชก็รวมไปถึงการไม่ล่วงละะเมิดสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ศีลทําให้เราไม่เดือดร้อนใจว่าทําผิดศีล ส่งผลให้เกิดความเคารพตนเอง ผู้ที่ยังไม่
เคารพตนเองจะเป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่นได้อย่างไร ดังพระพุทธดํารัสว่า สีลํอวิปฺปฏิสา
ราย (ศีลมีประโยชน์เพื่อความไม่เดือดร้อนใจ) ความไม่เดือดร้อนใจดังกล่าวจะก่อให้เกิด
ปราโมทย์ปีติความสงบ ความสุข สมาธิและญาณทัศนะเป็นต้นตามลําดับ
๒. สมาธิ การตั้งใจมั่น คือ การมีใจสงบไม่ขุ่นมัวด้วยนิวรณ์ที่ปิดกั้นความดีอัน
ได้แก่สมาธิและปัญญา
เมื่อจิตตั้งมั่นโดยมีศีลเป็นเหตุ ปัญญาที่เกิดร่วมกับสมาธิจะค่อยๆ ชัดเจนยิ่งตาม
ลําดับ เหมือนบุรุษอยู่ที่ริมสระน้ําใส ย่อมสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ําใสสะอาดได้ชัดเจน
๓. ปัญญา การรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ การรู้แจ้งเห็นประจักษ์รูปนามตลอด
จนถึงไตรลักษณ์ของรูปนามตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะจากประสบการณ์ของตนอย่าง
แท้จริง เหมือนเห็นด้วยจักษุไม่ใช่ความเข้าใจจากการฟังผู้อื่นหรือนึกคิดพิจารณา ปัญญาดัง
กล่าวจึงได้ชื่อว่า ญาณทัศนะ คือ ปัญญารู้เห็น
พระคันธสาราภิวงศ์