คิดก่อนทํา

คิดก่อนทํา

คนทั่วไปคิดอะไรก็ทําตามที่ตนคิด ไม ่นึกก่อนว่าสิ่งที่ทํานั้นมีประโยชน์จริงหรือไม ่
เชน ถ้าเรากินสิ่งที่อยากจะกิน ทําสิ่งที่อยากจะทํา ก็เป็นการทําตามใจกิเลส ไม ่ได้ทําตาม
ความจําเป็นของร่างกาย

พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตฺเตน นียติโลโก (จิตนําชาวโลกไป) หมายความว่า ชาวโลก
ถูกใจของเราบงการให้ทําโน่นทํานี่ตามใจ และใจของเราก็ถูกกิเลสสั่งการอีกทอดหนึ่ง เราจึง
ทําสิ่งต่างๆ ตามแรงขับเคลื่อนของใจที่มีกิเลสบงการอยู่

ถ้าเราทําตามใจที่กิเลสสั่งการ เราก็จะทําสิ่งผิดต่างๆ ทางกาย วาจา ใจ จะเห็นได้ว่า
ความชั่วทุกอย่างเกิดจากใจที่ตกอยู่ในอํานาจของความโลภ โกรธ หลง

การพัฒนาคุณภาพจิตเป็นสิ่งที่สําคัญมาก พระพุทธองค์จึงตรัสสอนให้เราหมั่นสังเกต
จิตของเราว่า ขณะนี้เราเกิดกิเลสอยู่ไหม ถ้าเรารู้เท่าทันว่ามันกําลังเกิดอยู่ เราก็จะไม่ตกอยู่ในอํานาจของมัน

การรู้เท่าทันกิเลสทางใจจะทําให้เรารู้ข้อบกพร่องของตัวเอง แล้วนํามาแก้ไขปรับปรุง
ตัวเราให้ดีขึ้น มิฉะนั้นแล้วเราจะหลงตัวเองว่าเราดีกว่าคนอื่น แล้วมัวแต่ตําหนิโทษคนอื่นโดยไม่สํารวจตัวเอง

วิทยาการสมัยใหม่เป็นการวิจัยคิดค้นสิ่งภายนอกตัวเรา แม้จะมีประโยชน์เพื่อความ
สุขสบายของมนุษย์ก็เป็นการ “รู้เห็น” สิ่งภายนอก ไม่ใช่การรู้เห็น “สิ่งภายใน” คือ กายกับ
จิตของเรา และเป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะคนรุ่นหลังย่อมสามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้อีก

 

ศาสนาพุทธสอนให้เรา “รู้เห็น” ตัวเราเป็นหลัก เพื่อให้เรารู้จักข้อบกพร ่องแล้ว
ปรับปรุงแก้ไขตัวเอง นั่นคือ การพัฒนาคุณภาพจิตให้สูงขึ้นด้วยการสังเกตว่า จิตของเราเกิด
ความโลภ โกรธ หลงอยู่ไหม ถ้ารู้เห็นเช่นนั้นก็พยายามละกิเลสดังกล่าว
ดังข้อความที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนภิกษุทั้งหลายว่า

โน เจ อาวุโส ภิกฺขุปรจิตฺตปริยายกุสโล โหติ, อถ สจิตฺตปริยายกุสโล ภวิสฺสามีติเอวํ

หิโว อาวุโส สิกฺขิตพฺพํ. (องฺ.ทสก. ข้อ ๕๒)
“ผู้มีอายุถ้าภิกษุไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น ก็จงประพฤติอย่างนี้ว ่า เราจะเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน”

แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนสามเณรราหุลว่า

“กระจกเงามีประโยชน์เพื่อการพิจารณาดูใบหน้าของตัวเอง ฉันใด บุคคลก็ควร
พิจารณาจิตของตัวเอง ฉันนั้น คือ ก่อนทํา ขณะทํา และหลังทําแล้ว ควรพิจารณาว่า สิ่งที่เรา
จะทํา กําลังทําอยู่ หรือทําแล้ว มีโทษต่อตัวเอง ผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่ายหรือไม่

ถ้าพิจารณาว่ามีโทษ ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่ทํา หรือถ้ากําลังทํา ก็งดทํา หรือถ้าทําแล้วก็
ควรตั้งใจจะไม่ทําต่อไป แต่ถ้าพิจารณาว่าไม่มีโทษ ก็ควรทําต่อไป”

พระคันธสาราภิวงศ์