การถวายสังฆทาน

การถวายสังฆทาน

สังฆทาน คือ ทานที่ถวายภิกษุสงฆ์โดยไม่ระบุบุคคลว่าเป็นภิกษุรูปใด แต่เป็นภิกษุ
รูปใดรูปหนึ่งที่มีอยู่ในวัดทั้งหมด หรือภิกษุที่สงฆ์คัดเลือกแล้วจัดสรรให้การถวายสังฆทานนี้
มีอานิสงส์มาก เพราะไม่จํากัดด้วยศีล สมาธิปัญญา ของภิกษุผู้รับทาน แต่เป็นองค์รวมของ
ภิกษุทั้งหมด ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า การถวายสังฆทานนี้มีอานิสงส์มากกว่าการถวาย
ทานแก่พระอรหันต์เพราะไม่จํากัดด้วยศีล สมาธิและปัญญาของพระอรหันต์เท่านั้น

ในทักขิณาวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าตรัสการถวายสังฆทาน ๗ ประเภท แต่ในปัจจุบัน
ไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุณีสงฆ์จึงถือว่ามีได้๒ ประเภท คือ

๑. สังฆทานที่ถวายในสงฆ์คือ การถวายแก่ภิกษุสามเณรทุกรูปที่อยู่ในวัด โดยนับ
รวมสามเณรเข้าในสงฆ์อีกด้วย และภิกษุสามเณรเหล่านั้นต้องอยู่พร้อมหน้ากันภายใน ๑๒
ศอกในวัดที่มีรั้วล้อม ถ้าเป็นวัดที่ไม่มีรั้วล้อม ให้นับ ๑ เลฑฑุบาต คือ สถานที่ขว้างก้อนดิน
ออกไปสุดแรงของบุรุษผู้มีกําลังปานกลาง ตามคําอธิบายในคัมภีร์อรรถกถาและฎีกาของ
ทักขิณาวิภังคสูตร และอรรถกถาของพระวินัยปิฎก เรื่องสังฆทาน

๒. สังฆทานที่ถวายโดยเจาะจงจํานวนภิกษุจากสงฆ์คือ การถวายนอกวัดโดยทายก
ไปขอนิมนต์ภิกษุจากเจ้าอาวาส หรือพระภัตตุทเทสก์(พระแจกภัต) ผู้รับกิจนิมนต์แล้วนํา
ภิกษุหรือสามเณรที่ตนได้จากสงฆ์นั้นไปฉันที่บ้านหรือศาลาในหมู่บ้าน ดังนั้น การนิมนต์
พระจากวัดไปฉันเช้าหรือฉันเพลที่บ้านก็ตาม การทําสลากภัตแล้วรับภิกษุสามเณรที่ได้รับ
สลากไปฉันที่บ้าน จึงเป็นสังฆทานประเภทนี้

สังฆทานประเภทที่ ๒ ต้องเป็นการถวายภายนอกวัดเท่านั้น ถ้าทายกนิมนต์พระบาง
รูปแล้วถวายอาหารหรือถวายของ ไม่จัดเป็นสังฆทาน เพราะคัมภีร์อรรถกถาพระวินัย คือ
สมันตปาสาทิกา และกังขาวิตรณีได้กล่าวถึงสังฆทานว่าต้องเป็นการถวายภิกษุและสามเณร
ทั้งหมดวัดเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นการถวายเพียงบางรูปก็ได้ดังนั้น สังฆทานประเภทที่
๒ จึงต้องมีภายนอกวัดเท่านั้น
นอกจากนั้น ทายกผู้ได้รับภิกษุหรือสามเณรจากสงฆ์ต้องวางใจเป็นกลาง ถ้ารู้สึก
โสมนัสยินดีเพราะได้รับพระเถระ หรือรู้สึกเสียใจที่ได้สามเณรน้อย ก็จะทําให้ทานนั้นไม่ใช่

สังฆทาน แต่เป็นปุคคลิกทาน คือ ทานที่ให้โดยระบุบุคคล
อนึ่ง คําว่า สงฆ์ในคัมภีร์อรรถกถาจําแนกไว้ ๒ ลักษณะ คือ

๑. อริยสงฆ์คือ หมู่ภิกษุผู้เป็นพระอริยบุคคล หมายถึง พระอริยบุคคล ๔ คู่ ๘
จําพวก สงฆ์ประเภทนี้พบในคําว่า สงฺฆํ  สรณํคจฺฉามิ (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง)

๒. สมมติสงฆ์คือ หมู่ภิกษุโดยสมมติหมายถึง ภิกษุที่นุ่งห่มจีวรได้รับการ
อุปสมบทตามหลักวินัยอย่างถูกต้อง สงฆ์ประเภทนี้มีได้ทั้งพระอริยะและปุถุชน และใช้ในคํา
ว่า สังฆทาน คือ ทานที่ถวายสงฆ์ซึ่งหมายถึง ถวายแด่สมมติสงฆ์ดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นพระ
อริยะ ปุถุชน สามเณร และยังหมายรวมถึงภิกษุทุศีลอีกด้วย ถ้าเขาได้รับมอบหมายจากสงฆ์
ให้ไปรับทาน ก็จัดเป็นสงฆ์เช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่า ในอรรถกถาของทักขิณาวิภังคสูตร มีเรื่องเล่าว่า มีเศรษฐีท่านหนึ่งได้รับ
ภิกษุทุศีลจากสงฆ์แต่ท ่านต้อนรับอย่างนอบน้อม ถวายอาหารอันประณีต ทําให้ภิกษุนั้น
เข้าใจว่าเศรษฐีเลื่อมใสตน พออีกวันหนึ่งได้เข้าไปหาเศรษฐีเพื่อขอจอบไปดายหญ้า เศรษฐีจึง
เอาเท้าเขี่ยจอบให้กล่าวว่า อยากได้ก็เอาไป ทําให้ชาวบ้านสงสัยจึงสอบถาม เศรษฐีตอบว่า
เมื่อวานนี้ฉันถวายภิกษุที่เป็นตัวแทนของสงฆ์แต่วันนี้ฉันให้ภิกษุทุศีล จึงทําอากัปกิริยาต่างกัน

ดังนั้น ในเมืองไทยปัจจุบันมักเข้าใจสังฆทานว่า
๑. การออกไปใส่บาตรในตอนเช้าเป็นการถวายสังฆทาน เพราะเราไม่ได้ระบุถึง
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แต่มุ่งถึงพระอริยสงฆ์
๒. การเข้ามาในวัดแล้วถวายสังฆทานเพื่อให้เป็นของส่วนรวมแก่ภิกษุสามเณรในวัด
๓. การนิมนต์พระ ๔ รูปแล้วถวายสังฆทานในวัด
ทั้งหมดนี้ถือว่าไม่ตรงกับคําอธิบายในคัมภีร์อรรถกถาและฎีกา เพราะภิกษุ ๔ รูปนั้น
เป็นสงฆ์ตามวินัยกรรมเพื่อการทําอุโบสถกรรมเป็นต้น ไม่ใช่สงฆ์ในการถวายสังฆทาน

พระคันธสาราภิวงศ์